“ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” รายงานเงินบาทสัปดาห์ที่ผ่านมาอ่อนค่าผ่านแนว 35.00 บาทต่อดอลลาร์ ไปแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 1 เดือนที่ 35.19 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงปลายสัปดาห์
เงินบาทยังคงเคลื่อนไหวในกรอบอ่อนค่าตามทิศทางสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชีย นำโดย เงินหยวนที่เผชิญแรงกดดันจากตัวเลขการส่งออกและนำเข้าของจีนที่หดตัวลงมากกว่าที่คาดในเดือน ก.ค. และตอกย้ำแนวโน้มที่เปราะบางของเศรษฐกิจจีน ประกอบกับเงินบาทยังคงมีปัจจัยลบจากแรงขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติในช่วงระหว่างรอความชัดเจนของประเด็นการเมืองในประเทศ
นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ ยังมีแรงหนุนเพิ่มเติมบางส่วนจากสัญญาณของเจ้าหน้าที่เฟดที่ยังคงให้ความเห็นถึงความจำเป็นของการปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อไปเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ซึ่งล่าสุด แม้ดัชนีราคาผู้บริโภคของสหรัฐ เดือน ก.ค. จะเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่ตลาดคาด แต่ยังคงอยู่เหนือระดับเงินเฟ้อเป้าหมายของเฟด อย่างไรก็ดี กรอบการอ่อนค่าของเงินบาทเป็นไปอย่างจำกัดก่อนเข้าสู่ช่วงวันหยุดยาวของตลาดในประเทศ
ในวันศุกร์ที่ 11 ส.ค. 2566 เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 35.07 บาทต่อดอลลาร์ เทียบกับ 34.79 บาทต่อดอลลาร์ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (4 ส.ค.) สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติระหว่างวันที่ 7-11 ส.คคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. 2566 นั้น นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 116 ล้านบาท และมีสถานะเป็น Net Outflows ออกจากตลาดพันธบัตรไทย 17,835 ล้านบาท (ขายสุทธิพันธบัตร 10,674 ล้านบาท และตราสารหนี้หมดอายุ 7,161 ล้านบาท)คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
สัปดาห์ถัดไป (15-18 ส.ค.) ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ระดับ 34.75-35.35 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ปัจจัยทางการเมืองของไทย และทิศทางเงินทุนต่างชาติ
ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ ที่สำคัญ ได้แก่ ตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อของผู้บริโภค ยอดค้าปลีก ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้าน การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.ค. ผลสำรวจภาคการผลิตจากเฟดสาขานิวยอร์กและสาขาฟิลาเดลเฟียเดือน ส.ค. บันทึกการประชุมเฟดเมื่อวันที่ 25-26 ก.ค. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
นอกจากนี้ ตลาดยังรอติดตามตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2/66 ของญี่ปุ่นและยูโรโซน รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจเดือน ก.ค. ของจีน อาทิ การผลิตภาคอุตสาหกรรม ยอดค้าปลีก อัตราการว่างงาน และการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร