OpenAI แพ้แรงกดดัน ให้ “แซม อัลต์แมน” นั่งเก้าอี้ CEO ตามเดิม

จากกรณีสั่นสะเทือนวงการเทคโนโลยี จากการปลด CEO ของ OpenAI บริษัทผู้พัฒนาปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ชื่อดังอย่าง ChatGPT ซึ่งในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมาบริษัทต้องเผชิญกับแรงกดดันทั้งจากพนักงาน และบรรดานักลงทุนที่กังวลกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

กระทั่งเมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา บริษัท OpenAI ได้โพสต์ข้อความผ่านบัญชีแอปพลิเคชัน X ว่า ได้บรรลุข้อตกลงในเชิงหลักการเพื่อให้ แซม อัลต์แมน กลับมาดำรงตำแหน่งในฐานะ CEO ของบริษัท พร้อมกับ เกร็ก บร็อกแมน ที่กลับมาดำรงตำแหน่งประธานและผู้ก่อตั้งบริษัท

พนักงาน OpenAI กว่า 95% ขู่ลาออก หากไม่ดึง แซม อัลท์แมน คืนเก้าอี้ซีอีโอ

กลุ่มทุนหลักของ OpenAI กดดันบอร์ด ดึง "แซม อัลท์แมน" คืนเก้าอี้ซีอีโอ

ช็อก! OpenAI ปลดซีอีโอฟ้าผ่า เหตุสื่อสารไม่ตรงไปตรงมากับบอร์ดบริหาร

นอกจากนี้ ยังมีกรรมการบริษัทชุดใหม่ ที่ประกอบด้วย เบรต เทย์เลอร์ เป็นประธานคณะกรรมการ แลร์รี่ ซัมเมอร์ส์ และอดัม ดีแองเจโล

หลังการเปิดเผยของ OpenAI แซม อัลต์แมน ก็ได้โพสต์ข้อความผ่านทางบัญชี X ของเขา โดยระบุว่า เขารักบริษัท OpenAIมาก และด้วยการสนับสนุนจากบอร์ดชุดใหม่และผู้บริหารของไมโครซอฟต์ ทำให้เขาได้กลับมาที่ OpenAI อีกครั้ง พร้อมกับเสริมว่า OpenAI อาจสร้างความร่วมมือที่แข็งแกร่งกับไมโครซอฟต์ในอนาคต ขณะที่เกร็ก บร็อกแมน ก็ได้โพสต์รูปผ่านบัญชี X เช่นเดียวกัน เพื่อยืนยันการกลับเข้าไปทำงานที่บริษัท OpenAI

การประกาศครั้งนี้ถือเป็นการยุติความวุ่นวายที่เกิดขึ้นใน OpenAI และวงการเทคโนโลยี หลังจากในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา บริษัทแห่งนี้และวงการเทคโนโลยีตกอยู่ในภาวะไม่แน่นอน หลังจากคณะกรรมการบริษัทตัดสินใจลงมติปลดแซม อัลต์แมน ออกจากตำแหน่ง CEO ของ OpenAI

พนักงาน OpenAI กว่าร้อยละ 97 จ่อลาออก หลังบอร์ดปลด CEO

คำสั่งดังกล่าว ตามมาด้วยความโกลาหล เมื่อสำนักข่าวซีบีเอส ของสหรัฐฯ รายงานว่า พนักงานของ OpenAI ซึ่งเป็นบริษัทห้องปฏิบัติการวิจัยปัญญาประดิษฐ์ จำนวน 747 คนจาก 770 คน ขู่ว่าจะลาออก หากทีมคณะกรรมการผู้บริหารบริษัทไม่เชิญ

แซม อัลต์แมน ซีอีโอของบริษัทที่เพิ่งถูกปลดจากตำแหน่ง และเกร็ก บร็อคแมน ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท กลับมาดำรงตำแหน่งเดิมพร้อมระบุว่าพนักงานทั้งหมดจะย้ายไปเข้าร่วมกับทีมพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ของบริษัทไมโครซอฟต์ บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของโลกแทน

นอกจากนี้ พนักงานของ OpenAI ยังได้เรียกร้องให้คณะกรรมการของบริษัทจำนวน 4 คนลาออก ซึ่งประกอบไปด้วย อีเลีย ชุตสเคเวอร์ หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของ OpenAI หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง อดัม ดิ’แองเจโล ซีอีโอ Quora ทาชา แมคคูเลย์ ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยี และเฮเลน โทเนอร์ จากศูนย์ความปลอดภัยและเทคโนโลยีเกิดใหม่แห่งจอร์จทาวน์

เนื่องจากทั้ง 4 คนเป็นผู้ที่มีมติให้ปลด แซม อัลต์แมน ออกจากตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือ CEO เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาตามเวลาบ้านเรา โดยคณะกรรมการระบุว่า การพิจารณาให้ แซม อัลต์แมน ออกจากตำแหน่ง เป็นไปตามกระบวนการพิจารณาของบริษัท แถลงการณ์ของคณะกรรมการให้เหตุผลในการพิจารณาว่า อัลต์แมนไม่ได้สื่อสารกับคณะกรรมการอย่างตรงไปตรงมาและสม่ำเสมอ ถือเป็นอุปสรรคต่อความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ CEO ตามความรับผิดชอบ พฤติกรรมดังกล่าวทำให้คณะกรรมการขาดความมั่นใจเกี่ยวกับความสามารถของเขาในฐานะ CEO ของ OpenAI

ทั้งนี้ คณะกรรมการยังได้ระบุในแถลงการณ์ด้วยว่า จะแต่งตั้งมิรา มูราติ ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี เข้ามารักษาการแทนจนกว่าจะได้ CEO คนใหม่

สำนักข่าว CNN ได้อธิบายถึงสาเหตุการปลดอดีต CEO รายนี้โดยอ้างข้อมูลจากแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องที่ระบุว่า ปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจของคณะกรรมการบริษัทคือความไม่ลงรอยกันระหว่างอัลต์แมนและคณะกรรมการเกี่ยวกับการนำปัญญาประดิษฐ์ออกสู่ท้องตลาด โดยอัลต์แมนเชื่อว่าปัญญาประดิษฐ์ปลอดภัยเพียงพอแล้วและต้องการนำออกสู่ท้องตลาดโดยเร็ว เพราะยิ่งปัญญาประดิษฐ์ถูกใช้มากเท่าใดจะยิ่งเห็นข้อบกพร่องมากขึ้นเท่านั้น

แต่คณะกรรมการของบริษัททั้ง 4 ราย โดยเฉพาะอีเลีย ซุตสเคเวอร์ หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของ OpenAI ที่ลงมติปลดอัลต์แมน มีความเห็นว่า บริษัทต้องการให้ตรวจสอบอย่างระมัดระวังก่อน และคำนึงถึงต้นทุนที่จะเกิดขึ้น หากปล่อยปัญญาประดิษฐ์วางขายในท้องตลาดไปแล้ว ก่อนหน้านี้ ซุตสเคเวอร์เคยออกมาเตือนว่าตอนนี้โลกยังไม่มีทิศทางในการควบคุมปัญญาประดิษฐ์จากนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง และมนุษย์ไม่มีความน่าเชื่อถือพอที่จะควบคุมปัญญาประดิษฐ์ที่ฉลาดกว่าเราหลายเท่า

อย่างไรก็ดี หลังการปลดอัลต์แมน ซุตสเคเวอร์ได้ออกมาทวิตข้อความแสดงความเสียใจถึงการตัดสินใจที่เขาได้ทำลงไปในการประชุมบอร์ดบริหาร พร้อมระว่าไม่ได้ตั้งใจจะทำร้ายบริษัท ตลอดจนจะทำทุกทางให้บริษัทรวมกันเป็นหนึ่งเหมือนเดิม

แม้จะมีปัญหาความไม่ลงรอยทางจริยธรรมบางประการ แต่การปลดแซม อัลต์แมนแบบฟ้าผ่าได้สั่นสะเทือนวงการเทคโนโลยี ตลอดจนสร้างความตกใจให้กับทั้งซิลิคอนวัลเลย์และทั่วโลก รวมถึงกลายเป็นน้ำผึ้งหยดเดียวที่อาจทำให้บริษัท OpenAI เสี่ยงล่มสลาย แซม อัลต์แมนคือใคร เหตุใดจึงมีความสำคัญกับบริษัทแห่งนี้

“แซม อัลต์แมน” ผู้อยู่เบื้องหลังเทคโนโลยี AI เปลี่ยนโลก

แซม อัลต์แมน เป็นผู้ประกอบการและนักลงทุนชาวอเมริกัน และเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญของซิลิคอน วัลเลย์ ศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีชั้นสูงและนวัตกรรมของโลกที่ตั้งอยู่ในนอร์ทเทิร์นแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐฯ

อัลต์แมน คือ หนึ่งในผู้ให้กำเนิดบริษัท OpenAI ผ่านการระดมทุนร่วมกับมหาเศรษฐีระดับโลกหลายราย เช่น เกร็ก บร็อกแมนที่โดนปลดจากตำแหน่งพร้อมเขา หรืออีลอน มัสก์ CEO ของสเปซเอ็กซ์ จนกระทั่งในปี 2015 บริษัท OpenAI สามารถเปิดตัวด้วยเงินระดมทุนมากถึง 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 35,000 ล้านบาท

เป้าหมายของบริษัท OpenAI ถูกออกแบบมาเพื่อพัฒนาภารกิจ ที่จะทำให้แน่ใจว่าปัญญาประดิษฐ์จะเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติ

หลังจากนั้น อัลต์แมนได้เข้ามาเป็น CEO ของ OpenAI อย่างเป็นทางการ ในเดือนมีนาคม ปี 2019 และได้ช่วยระดมทุนเพิ่มอีก 1 พันล้านดอลลาร์ หรือ 35,000 ล้านบาทจากบริษัทไมโครซอฟต์

อัลต์แมนเป็นผู้มีส่วนสำคัญที่ทำให้แชทบอทปัญญาประดิษฐ์ต้นแบบ หรือ ChatGPT เติบโตอย่างรวดเร็วและโด่งดังไปทั่วโลก จนทำให้หลายบริษัทต้องปรับตัวเพื่อใช้หรือปรับตัวให้เข้ากับการเกิดใหม่ของปัญญาประดิษฐ์ชนิดนี้ สำนักข่าวบีบีซี เรียกอัลต์แมนว่า ชายผู้อยู่เบื้องหลัง ChatGPT ที่ทำให้คนทั่วโลกรู้จักกับการใช้ความสามารถของเอไอเป็นครั้งแรก

ChatGPT ปัญญาประดิษฐ์อัจฉริยะ พลิกโฉมหลายวงการ

สาเหตุที่บีบีซีเรียกอัลต์แมนเช่นนี้ เพราะแม้ว่าปัญญาประดิษฐ์จะอยู่กับมนุษย์มาสักระยะแล้ว ด้วยการถูกใช้เพื่อบริหารจัดการระบบอัลกอริธึม และหน้าฟีดแอปพลิเคชันต่างๆ เช่น เฟซบุก หรือยูทูป แต่การกำเนิดของ ChatGPT ทำให้มนุษย์ได้เข้าถึงพลังที่แท้จริงของปัญญาประดิษฐ์เป็นครั้งแรก

เนื่องจาก ChatGPT ทำให้มนุษย์สามารถโต้ตอบกับปัญญาประดิษฐ์ได้เป็นครั้งแรก โดย ChatGPT ถือเป็นปัญญาประดิษฐ์ที่มีความฉลาดจนสามารถแก้ปัญหา ตอบคำถาม หรือเขียนโค้ดเบื้องต้นได้ ส่วนสาเหตุที่ทำให้ ChatGPT เป็นปัญญาประดิษฐ์ที่แก้ปัญหาได้ มาจากการเรียนรู้ข้อมูลมหาศาล ทีมผู้สร้างอ้างว่า พวกเขาได้ใส่คำศัพท์ต่างๆ กว่า 3 แสนล้านคำจากเว็บไซต์ หนังสือ บทความ และโพสต์ต่างๆ ลงไปในกระบวนการเรียนรู้ของ AI

 OpenAI แพ้แรงกดดัน ให้ “แซม อัลต์แมน” นั่งเก้าอี้ CEO ตามเดิม

นี่ทำให้ ChatGPT สามารถตอบโจทย์การทำงานบางประเภทได้ ตั้งแต่การตอบคำถามข้อสอบในวงการศึกษา การเขียนบทความ ไปจนถึงการออกแบบงานศิลปะ แต่ด้วยความสามารถที่หลากหลาย ChatGPT ทำให้ผู้เชี่ยวชาญบางส่วนเคยออกมาเตือนว่า ปัญญาประดิษฐ์เป็นสิ่งที่ทรงพลัง จนสามารถสร้างสรรค์หรือทำลายโลกให้พินาศก็ได้ และอัลต์แมน อดีต CEO ของ OpenAI ก็ถือเป็นหนึ่งในบุคคลที่กุมพลังดังกล่าวและอนาคตของมนุษยชาติไว้

ความกังวลเรื่องความฉลาดของปัญญาประดิษฐ์และการผูกขาดอำนาจด้านเทคโนโลยีโดยบุคคลกลุ่มเดียว ทำให้สหรัฐฯ ต้องออกมากำหนดมาตรการควบคุมเรื่องนี้คำพูดจาก สล็อต true wallet

สหรัฐฯ-ยูเอ็นเตรียมควบคุมการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์

เมื่อวันที่ 30 ตุลาคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐฯ ได้ลงนามในคำสั่งบริหาร มุ่งเป้าไปที่การยกระดับความปลอดภัยของปัญญาประดิษฐ์ คำสั่งบริหารนี้จะปูทางไปสู่การออกกฎระเบียบและการวางโครงสร้างความมั่นคงต่างๆ สำหรับเป็นแนวทางในการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์

หนึ่งในประเด็นสำคัญที่หลายฝ่ายให้ความสนใจคือ การที่บริษัทเทคโนโลยีขั้นสูงจะต้องเปิดเผยผลการทดสอบความปลอดภัยกับรัฐบาลกลาง ซึ่งจะทำให้รัฐบาลสามารถตรวจสอบความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของระบบ ปัญญาประดิษฐ์ก่อน จากนั้นจึงจะสามารถนำไปเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้

ก่อนที่ผู้นำสหรัฐฯ จะลงนามในคำสั่งบริหารฉบับนี้ เขาได้หารือร่วมกับฝ่ายนิติบัญญัติและบรรดาผู้นำอุตสาหกรรม AI ที่ทำเนียบขาว และในวันที่ลงนามคำสั่งฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีไบเดนระบุว่า เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์จะต้องได้รับการควบคุม

ขณะเดียวกัน อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่แห่งสหประชาชาติ ก็ได้ออกมาพูดถึงเรื่องการควบคุมปัญญาประดิษฐ์ภายใต้กรอบการทำงานของยูเอ็นเช่นเดียวกัน ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 27 ตุลาคมที่ผ่านมา หรือ 3 วันก่อนการลงนามคำสั่งบริหารของประธานาธิบดีไบเดน เลขาฯ ยูเอ็นประกาศจัดตั้งคณะที่ปรึกษาที่มีสมาชิก 39 คน เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ในการกำกับดูแลกิจการระหว่างประเทศด้านปัญญาประดิษฐ์

สมาชิกทั้ง 39 คนจะประกอบด้วยผู้บริหารบริษัทเทคโนโลยี เจ้าหน้าที่ของรัฐตั้งแต่สเปนไปจนถึงซาอุดีอาระเบีย และนักวิชาการจากประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา รัสเซีย และญี่ปุ่น ซึ่งมิรา มูราติ รักษาการ CEO ของบริษัท OpenAI ที่ถูกแต่งตั้งแทนแซม อัลต์แมนอยู่ในคณะที่ปรึกษานี้ด้วย

รู้วันโอนเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท พร้อมวิธีเช็กเข้าบัญชี

กางปฏิทินจ่ายเงินเดือนข้าราชการ ค่าจ้างลูกจ้างประจำ บำนาญ ปี 2566

วันหยุดเดือนธันวาคม 2566 เช็กเลยมีวันหยุดราชการ-หยุดยาววันไหนบ้าง

You May Also Like

More From Author