โดยกำหนดเป้าหมายที่จะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับประเทศปีละ 4 ล้านล้านบาท ภายในระยะเวลา 4 ปี ของรัฐบาล โดยจะใช้งบประมาณในการขับเคลื่อนกว่า 5,164 ล้านบาท
ขณะเดียวกันรัฐบาลยังกำหนดแผนปฏิบัติการ ทั้งระยะสั้น ใน 100 วัน ระยะ 6 เดือน รวมไปถึงระยะ 1 ปี โดยมีคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ที่มีนายกฯเศรษฐา นั่งเป็นประธาน มี “แพทองธาร ชินวัตร” หัวหน้าพรรคเพื่อไทย นั่งเป็นรองประธาน เพื่อขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ภายในประเทศ ตามนโยบาย 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ ของพรรคเพื่อไทย ที่มีเป้าหมายยกระดับทักษะคนไทยให้เป็นแรงงานทักษะสูง 20 ล้านคน สร้างรายได้อย่างน้อย 200,000 บาทต่อปี และสร้างงาน 20 ล้านตำแหน่ง
บ่มเพาะ OFOS ล้านคน
แผนการขับเคลื่อนฯ ในระยะ 100 วันหรือภายใน 11 ม.ค. 67 ที่ผ่านมา คือ การเปิดให้ลงทะเบียนที่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (กทบ.) ที่มีอยู่เกือบ 80,000 แห่งทั่วประเทศ รวมทั้งแก้ไขกฎกระทรวง และจัดงานวินเทอร์ เฟสติวัล ส่วนแผนในระยะ 6 เดือน หรือภายใน 3 เม.ย.67 จะเริ่มบ่มเพาะ OFOS หรือ One Family One Soft Power หรือ 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ รวมทั้งเสนอ พ.ร.บ.จัดตั้งThailand Creative Content Agency (THACCA) หรือทักก้า มีการจัดเทศกาล วอเตอร์ เฟสติวัล และการจัดงานซอฟต์พาวเวอร์ ฟอรั่ม ขณะที่ในระยะ 1 ปี หรือภายใน3 ต.ค. 67 ได้กำหนดเป้าหมายที่จะบ่มเพาะ OFOS ให้ได้ 1 ล้านคน รวมทั้งพ.ร.บ.จัดตั้งทักก้า ผ่านรัฐสภา มีการจัดงานฟิล์ม เฟสติวัล และมิวสิค เฟสติวัล รวมถึงการสนับสนุนซอฟต์พาวเวอร์ ไปร่วมงานระดับโลก
ส่วนการขับเคลื่อนการทำงาน ได้แบ่งเป็น 3 ส่วน โดยเริ่มจาก 1.ต้นน้ำ เป็นการฝึกอบรมคน 20 ล้านคน จาก 20 ล้านครอบครัว ตามโครงการ 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ของรัฐบาล 2.กลางน้ำ เป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 11 อุตสาหกรรม เช่น อาหาร กีฬา เฟสติวัล ท่องเที่ยว ดนตรี หนังสือ ภาพยนตร์ เกม ศิลปะ การออกแบบ และแฟชั่น เป็นต้น และ 3.ปลายน้ำ เป็นการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ของไทยออกไปสู่เวทีโลก ในพื้นที่ที่สอดคล้องแล้วมีการศึกษาและวิเคราะห์โอกาสของประเทศไทยที่จะนำซอฟต์พาวเวอร์ไทยไปบุกตลาดต่างประเทศ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านนี้ผ่านการทำงานของทูต และทูตพาณิชย์ที่อยู่ในประเทศต่างๆ
วิจารณ์หนักใช้งบเยอะ
ส่วนในเรื่องของงบประมาณกว่า 5,000 ล้านบาท นั้น มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมาก ถึงความจำเป็นมากน้อยเพียงใด ขณะเดียวกันในแต่ละสาขาในแต่ละอุตสาหกรรม ก็ได้รับงบประมาณที่แตกต่างกัน จนทำให้หลายคนหลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยถึงความเหมาะสมเพราะอุตสาหกรรมเฟสติวัล ได้งบประมาณสูงสุดดูจะมีความคืบหน้าให้เห็นมากที่สุดกับการวางเป้าส่งเสริมประเพณีของไทยสู่สายตาชาวโลกให้หันกลับมามองประเทศไทยผ่านกิจกรรมประเพณีต่าง ๆในพื้นที่77จังหวัดโดยปีหน้าเตรียมกิจกรรมไว้10,000กิจกรรม เช่น งานสงกรานต์ไทยวางเป้าไว้ให้เป็นIP Festivalเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์งานสงกรานต์ จัดทั่วทั้งเดือนเพื่อหวังสร้างรายได้ในทุกพื้นที่ที่ตั้งไว้ว่าจะมีรายได้ถึง 35,000ล้านบาท
โดยกลุ่มที่สนับสนุนเห็นว่าเป็นการส่งเสริมประเพณีสงกรานต์ซึ่งเป็นที่รู้จักทั่วโลกอยู่แล้วให้ยิ่งยกระดับดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเล่นสงกรานต์เพิ่มรายได้เข้าประเทศ แต่มีเสียงอีกด้านที่มองว่าอาจไม่ได้กระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้นหรืออาจจะกระจุกตัวในบางจุดที่เป็นย่านเศรษฐกิจและมองไปถึงผลกระทบความกังวลต่อการใช้น้ำเพราะมีการประเมินว่าปีหน้าจะเผชิญกับปัญหาภัยแล้ง
ขณะเดียวกันก็มีเสียงสะท้อนออกมาว่า การสนับสนุนซอฟต์พาวเวอร์ ไม่ควรมุ่งแค่ประเพณีวัฒนธรรมกระแสหลัก เพราะประเทศไทยมีทุนทางวัฒนธรรมที่หลากหลายอย่างมาก เพียงแต่ทุนทางวัฒนธรรมเหล่านั้นยังไม่ถูกยกระดับเพื่อดันไปสู่ซอฟต์พาวเวอร์อย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
ทั้งนี้คณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ที่มี แพทองธารชินวัตรหัวหน้าพรรคเพื่อไทยเป็นประธาน ได้ไฟเขียวงบประมาณในการดำเนินงานของ 11 สาขา ถึง 5,164ล้านบาท ประกอบด้วย อุตสาหกรรมเฟสติวัล1,009ล้านบาท,สาขาท่องเที่ยว711ล้านบาท, สาขาอาหารดำเนินโครงการ1หมู่บ้าน 1 เชฟอาหารไทย1,000ล้านบาท, สาขาศิลปะ380ล้านบาท, สาขาออกแบบทำโครงการ310ล้านบาท, สาขากีฬาเน้นเรื่องมวยไทย500ล้านบาท, สาขาดนตรี144ล้านบาท, สาขาหนังสือ69ล้านบาท, สาขาภาพยนตร์ละครซีรีส์545ล้านบาท, สาขาแฟชั่น268ล้านบาท, สาขาเกม374ล้านบาท
โดยคณะกรรมการฯได้ชี้แจงแถลงไขถึงที่ไปที่มาของงบประมาณ โดยพบว่าจะมีการใช้งบประมาณในปี 67 ประมาณ 3,500 ล้านบาท ส่วนที่เหลือก็เป็นงบประมาณในปี 68 ซึ่งในงบประมาณปี 67 ก็เป็นงบฯที่มาจากหลายกระทรวง ทั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงพาณิชย์ หรือแม้แต่กระทรวงอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันอาหาร สถาบันแฟชั่น เป็นต้น
นายกฯ กำชับใช้งบฯ
ในส่วนของคณะกรรมการฯชุดใหญ่ ที่มีนายกฯ เศรษฐา เป็นประธาน ล่าสุด เมื่อวันที่ 9 ม.ค.ที่ผ่านมา ได้กำชับเรื่องงบประมาณ โดยให้พิจารณาถึงความคุ้มค่า และคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับเป็นสำคัญ พร้อม ๆ กับการเห็นชอบข้อเสนอโครงการของอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ เป้าหมาย ทั้ง 11 สาขา ประกอบด้วย สาขาเฟสติวัล สาขาท่องเที่ยว สาขาอาหาร สาขาศิลปะ สาขาออกแบบ สาขากีฬา สาขาดนตรี สาขาหนังสือ สาขาภาพยนตร์ ละครและซีรีส์ สาขาแฟชั่น และสาขาเกม โดยมอบหมายให้สำนักงบประมาณพิจารณากรอบวงเงินและหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามขั้นตอนต่อไป
ขณะเดียวกันยังเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณในการสนับสนุนผู้ประกอบการเข้าร่วมเทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศ จำนวน 3 เทศกาล ในวงเงิน 3 ล้านบาท โดยมอบหมายกระทรวงวัฒนธรรมจัดทำคำของบประมาณไปยังสำนักงบประมาณเพื่อขอรับการพิจารณา และมอบสำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบประมาณต่อไป
จิ้งจกทักยังต้องฟัง
เรียกได้ว่าบอร์ดซอฟต์พาวเวอร์ เองก็ยังไม่ได้ตัดสินใจใด ๆ กับเรื่องของงบประมาณที่ได้กำหนดกันไว้ เพราะเสียงวิพากษ์วิจารณ์นั้นมีเป็นจำนวนไม่น้อยทีเดียว แม้สารพัดคำอธิบายที่ออกมาจะสามารถชี้แจงได้ทั้งหมด แต่ในเมื่อกระแสสังคมออกมาวิพากษ์วิจารณ์ ออกมาทัดทาน ก็ต้องรับฟัง ตามโบราณที่ว่าจิ้งจกทัก ก็ยังต้องฟัง แล้วนี่สารพัดกูรู ออกมาตั้งข้อสงสัย ออกมาทักทาย ก็ต้องกลับไปดูให้รอบคอบ ดูให้เหมาะสม เช่นเดียวกัน
“ซอฟต์พาวเวอร์” เป็นฝันใหญ่ของรัฐบาลที่มีผู้เกี่ยวข้องจำนวนมาก ทั้งผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 11 อุตสาหกรรม รวมถึงประชาชน 20 ล้านคน ที่จะเข้าอบรมบ่มเพาะเพื่อพัฒนาศักยภาพ รวมไปถึงสารพัดองคาพยพจำนวนมาก ภารกิจครั้งนี้จึงต้องใช้ความพยายามไม่น้อย ที่ต้องอรรถาธิบาย ต้องชี้แจง เพื่อขับเคลื่อนให้ไปสู่เป้าหมายเดียวกัน เพราะไม่เช่นนั้นคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง!! ก็ไม่ต่างกับหลายโครงการในหลายรัฐบาล ที่สุดท้าย ก็เท่ากับว่าเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ!!.
ต้องเกิดได้จริงไม่ใช่แค่สวยหรู
“วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา” รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และนายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย มองว่า นโยบายซอฟต์พาวเวอร์ของรัฐบาล ในแง่มุมของการตลาดถือว่าเดินมาถูกทาง เนื่องจากเป็นการประกาศให้คนทั่วโลก หรือแม้กระทั่งคนในประเทศรู้ว่า ประเทศไทยมีวัฒนธรรม อาหาร ภาพยนตร์ หรือสิ่งต่าง ๆ มีอะไรน่าสนใจบ้าง เพื่อให้คนทั่วโลกได้สนใจ เข้ามาสัมผัสท่องเที่ยวในประเทศไทย สร้างรายได้เข้าประเทศ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือประเทศเกาหลี ที่สามารถสร้างความน่าสนใจในเรื่องวัฒนธรรมการกิน สถานที่ท่องเที่ยว จนทำให้นักท่องเที่ยวหลาย ๆ ประเทศ ต่างสนใจไปตามรอยที่เกาหลีกัน
“อย่างประเทศไทยก็มีวัฒนธรรม อาหาร การกิน มวยไทย กีฬาหลากหลายที่น่าสนใจ ประเด็นสำคัญคือ ในเมื่อเราประกาศโฆษณาเชิญชวนให้ทุกคนรู้จักซอฟต์พาวเวอร์ของเราแเล้ว ตอนนี้ต้องมาดูว่าของจริงทำอย่างไร ให้นักท่องเที่ยวเมื่อเดินทางมาเจอ มาสัมผัสของจริงแล้วจะประทับใจแบบที่เราโฆษณาไว้หรือไม่อย่างไร ตรงนี้ต้องทำให้ดีที่สุด อิมแพ็คมากที่สุด เพื่อทำให้คนที่มาประทับใจ แล้วเกิดการบอกต่อทางโซเชียลให้มากที่สุด อย่างซอฟต์พาวเวอร์ในเรื่องอาหาร สิ่งที่กำลังทำกันคือ การสร้างเชฟอาหารไทยให้เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ให้มากที่สุด เพื่อทำให้อาหารไทยได้รสชาติที่แท้จริง ให้คนกินประทับใจ แล้วกลับมาเที่ยวประเทศไทยอีก ส่วนเรื่องอื่น ๆ ตอนนี้ยังไม่อยากให้ความคิดเห็นอะไรมาก อยากให้กำลังใจทุกคน ให้ทำแล้วเกิดขึ้นได้จริง เห็นจริง ดีจริง”
คาดอีก 3 ปีจับต้องได้
“วีระศักดิ์ โควสุรัตน์” สมาชิกวุฒิสภาและอดีต รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา บอกว่า ความเป็นไปได้ในการผลักดันนโยบาย 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ นับเป็นครั้งแรกที่นโยบายซอฟต์พาวเวอร์ถูกหยิบยกเป็นนโยบายระดับชาติ จากทั้งทางพรรคเพื่อไทย และทุกพรรคที่หาเสียงไว้ช่วงเลือกตั้งที่ผ่านมา หากอ้างอิงจากโรดแม็พของหนึ่งในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ก็ประเมินว่าอาจใช้เวลาถึง 3 ปี ถึงจะเริ่มเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ตามแผน โดยนโยบายนี้อาจไม่สามารถคาดหวังได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว เพราะเป็นเรื่องที่ต้องขับเคลื่อนในระยะยาว รวมถึงนโยบายนี้มีมิติ 3 ด้านสำคัญคือ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ทับซ้อนกันอยู่ อย่างประเทศที่ผลักดันซอฟต์พาวเวอร์สำเร็จอย่างเกาหลีใต้ สำเร็จได้จากนโยบายการเมืองที่แข็งแรงและต่อเนื่อง
“ในการไปบรรยายในหลาย ๆ ครั้ง จะพูดเสมอว่าเวลาใช้ซอฟต์พาวเวอร์อย่าใช้เงินเป็นตัวนำ ถ้าเรามีแผนจะผลักดันอุตสาหกรรมไหน คิดได้แต่อย่าตะโกน ทำแบบเงียบ ๆ ค่อย ๆ รดน้ำไป ถ้าคุณจะขายมวยไทยเพราะเห็นว่าสามารถแตกยอดนำไปสู่อย่างอื่น คุณก็ทำในส่วนที่เป็นหัวใจที่สุดของมวยไทย ประเดี๋ยวก็จะมีคนถูกโน้มน้าวให้เห็นประโยชน์แล้วเขาก็จะไปสร้างอะไรของเขาต่อ อย่าไปสร้างเองหมด ทีนี้เราก็มาดูว่า แล้วเรามีซอฟต์พาวเวอร์ที่ดีอะไรบ้างที่สามารถขายได้ เราไม่เคยรู้เลยว่าเรือหางยาว ตุ๊กตุ๊ก เป็นเรื่องน่าสนใจของเขา ผัดไทยเป็นของอร่อยของเขา”คำพูดจาก เล่นเกมสล็อต
พลังสำคัญกระตุ้นเศรษฐกิจ
“สนั่น อังอุบลกุล” ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เห็นว่า ซอฟต์พาวเวอร์จะกลายเป็นอีกพลังที่สำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้กับประเทศในปีนี้ ซึ่งซอฟต์พาวเวอร์ทั้ง 11 สาขาที่รัฐบาล เร่งผลักดันนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ช่วยทำให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มและสนับสนุนภาคการท่องเที่ยวของไทยให้กลับมาเติบโตได้อย่างรวดเร็วและโดดเด่นมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามในแง่ของภาคเอกชนและหอการค้าไทยเอง ก็ต้องการให้รัฐบาลเร่งโปรโมตการท่องเที่ยวผ่านซอฟต์พาวเวอร์ในตลาดใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพและมีแนวโน้มเติบโตได้สูง ทั้งตลาดอินเดีย รัสเซีย เกาหลีใต้ มาเลเซีย รวมถึงการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายใน เน้นไทยเที่ยวไทยให้มากขึ้น
ทั้งนี้ในปี 66 ที่ผ่านมา ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเที่ยวเมืองไทยกว่า 28 ล้านคน ซึ่งการยกเลิกวีซ่าระหว่างไทย-จีน จะเป็นแรงดึงดูดสำคัญที่ทำให้ภาคการท่องเที่ยวของไทย สามารถเติบโตได้โดดเด่นต่อเนื่อง ขณะที่ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ยังมีเทศกาลสงกรานต์ที่เพิ่งได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ที่จับต้องไม่ได้จากยูเนสโก ซึ่งรัฐบาลและหอการค้าไทยเอง ก็จะร่วมมือกันในการยกระดับงานสงกรานต์ให้เป็นอีเวนต์ระดับโลก รวมถึงจะจัดกิจกรรมด้านการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ตลอดทั้งปี 67 นี้อีกด้วย ดังนั้นจึงเชื่อว่าจะช่วยทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้ประมาณ 3.2% และมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทยถึง 35 ล้านคนตามเป้าหมายที่รัฐบาลต้องการ.
ทีมเศรษฐกิจ